วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แนะนำสิ่งดีๆสำหรับครู

หลักในการบริหารเวลาของคนเป็นครู
http://www.kroobannok.com/21862
มิติของเทคโนโลยีการศึกษากับการสอนทางไกล
http://www.kroobannok.com/1690
แบบฟอร์มทางราชการ
http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=2589
แผนการสอนระดับประถมศึกษา
https://www.myfirstbrain.com/
สื่อการสอนระดับชั้นอนุบาล-ประถมต้น(ช่วงชั้นที่1)
www.karn.tv

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการประเมินหลักสูตร

ขั้นตอนการประเมินหลักสูตร
เนื่องจากการประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญซึ่งมีผลต่อการตัดสินคุณค่าของหลักสูตร
ดังนั้นในการประเมินจึงต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างรัดกุม ดังที่ สุนีย์ ภู่พันธ์ (2546, หน้า 256-257) ได้สรุปขั้นตอนการประเมินหลักสูตรตามแนวคิดของทาบา (Taba, 1962) ไว้ดังนี้

1. วิเคราะห์และตีความวัตถุประสงค์ของหลักสูตรให้มองเห็นกระจ่างชัดในเชิงพฤติกรรม คือปฏิบัติได้จริง (Formulation and Clarification for Objective)
2. คัดเลือกและสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับค้นหาหลักสูตร (Selection and Construction of the Appropriate Instruments foe Getting Evidences)
3. ใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นประเมินผลหลักสูตรตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (Application of Evaluative Criteria)
4. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังของนักเรียนและลักษณะของการสอนเพื่อนำมาประกอบในการแปลผลของการประเมิน (Information on the Background of Students and the Nature of Instruction in the Light of Which to Interpret the Evidences)
5. แปลผลของการประเมิน เพื่อนำไปปรับปรุงหลักสูตรและการสอนต่อไป (Translation of Evaluation Findings into Improvement of the Curriculum and Instruction)

นอกจากนี้ รุจิร์ ภู่สาระ (2546, หน้า 159-160) ยังได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการประเมินหลักสูตรตามแนวคิดของ Brady (1990) ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

ขั้นกำหนดเป้าหมาย

1. กำหนดสิ่งที่จะประเมิน
2. ทำความเข้าใจกับจุดมุ่งหมายในการประเมิน
3. อธิบายข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้
4. กำหนดข้อมูลที่สามารถหาได้
5. ให้คำนิยามหลักการซึ่งผู้ประเมินจะต้องดำเนินการ


ขั้นเตรียมการ
1. พิจารณาว่าได้ข้อมูลจากใคร และเมื่อไร
2. พิจารณาเทคนิคและเครื่องมือที่ต้องใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. พิจารณากลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการประเมิน
4. เลือกเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้

ขั้นดำเนินการ
รวบรวมข้อมูลทั้งหมดให้ตรงตามที่ต้องการประเมิน

ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล

1. พิจารณามาตรฐานหรือเกณฑ์ที่เหมาะสมกับหลักสูตร
2. พิจารณาศักยภาพที่เกิดกับหลักสูตร
3. พิจารณาผลที่ตามมาจากการปฏิบัติการของหลักสูตร
4. พิจารณาเหตุผลที่เกี่ยวกับหลักสูตร

ขั้นรายงานผล
1. ตีความหมายข้อมูลที่วิเคราะห์
2. สรุปผลหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพ และความตรงของหลักสูตรตามเป้าหมาย
3. บันทึกคณะบุคคล และแหล่งข้อมูลที่ต้องการจะทำให้ข้อเสนอแนะบังเกิดผลโดยดี
4. นำเสนอข้อมูลต่อสาธารณชน

.....สรุป การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการทำงานอย่างหนึ่งที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ หลายขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำไปใช้พิจารณาคุณค่าของหลักสูตร ซึ่งขั้นตอนการประเมินหลักสูตร ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน การเลือกเครื่องมือที่จะนำไปใช้ในการประเมินให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การสร้างและตรวจสอบเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ตลอดจนถึงการนำเสนอข้อมูลต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันพิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตร รวมถึงการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรต่อไป.....